ความปลอดภัยของเครื่องฯ

1. โทรทัศน์
1.1 ควรติดตั้งเสาอากาศให้มั่นคงแข็งแรง แล้วยึดด้วยลวดไม่ต่ำกว่า 3 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้มไม่ควรติดตั้งเสาอากาศทีวีให้สูงเกินความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงฟ้าผ่าลงที่เสา นอกจากนี้ควรให้เสาห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงเพื่อไม่ให้เสาล้มพาดสายแรงสูงและเกิดอันตรายได้
1.2. อย่าเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ในขณะที่ตัวเปียกชื้น และไม่ควรจับเสาอากาศโทรทัศน์ด้วย
1.3. ให้ปิดโทรทัศน์ ถอดปลั๊กไฟและขั้วสายอากาศออกในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันโทรทัศน์ชำรุด
1.4. อย่าดูโทรทัศน์ใกล้เกินไปจะทำให้สายตาเสีย หรือได้รับรังสี และคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากเกินไป
1.5. วางโทรทัศน์ในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
1.6. อย่าถอดซ่อมด้วยตัวเอง เนื่องจากภายในมีระบบไฟฟ้าแรงสูงอยู่ด้วย
1.7. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

2.ตู้เย็น
2.1. ควรติดตั้งระบบสายดินกับตู้เย็นผ่านทางเต้าเสียบ–เต้ารับที่มีสายดิน
2.2. ใช้ไขควงลองไฟตรวจสอบตัวตู้เย็นว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ตู้เย็นที่ไม่มีสายดินนั้นการกลับขั้วที่ปลั๊กอาจทำให้มีไฟรั่วน้อยลงได้
2.3. ตู้เย็นที่ดีควรจะมีสวิตช์อัตโนมัติปลดออกและสับเองด้วยการหน่วงเวลาเมื่อมีไฟดับ-ตก มิฉะนั้นจะต้องถอดปลั๊กตู้เย็นออกทันทีก่อนที่จะมีไฟเข้ามา และจะเสียบปลั๊กเข้าอีกครั้งเมื่อไฟมาปกติแล้ว 3-5 นาที
2.4. หลอดไฟในตู้เย็นถ้าขาด ไม่ควรเอาหลอดออกจนกว่าจะมีหลอดใหม่มาเปลี่ยน
2.5. อย่าปล่อยให้พื้นบริเวณประตูตู้เย็นเปียก เพราะอาจเป็นสื่อไฟฟ้าอย่างดีให้ปูด้วยพรมหรือพื้นยางก็ได้ ส่วนบริเวณมือจับก็ควรมีผ้าหรือฉนวนหุ้มด้วย
2.6. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

3.พัดลม
3.1. ไม่ควรมีวัสดุติดไฟใกล้บริเวณพัดลม เช่น ผ้าม่าน กล่องกระดาษ หรือหนังสือ
3.2. ควรเป็นพัดลมชนิดมีฉนวนประเภท 2 มิฉะนั้นต้องมีสายดิน
3.3. หมั่นตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟเสมอ
3.4. พัดลมที่เปิดแล้วไม่หมุนหรือหยุดหมุนจะร้อนและเกิดไฟไหม้ได้ให้รีบปิดพัดลมแล้วถอดปลั๊กเพื่อส่งซ่อมต่อไป
3.5. ตรวจสอบสภาพของสายอ่อนที่ใช้อยู่เสมอซึ่งฉนวนมักจะชำรุดได้ง่าย
3.6. อย่าพยายามเปิดพัดลม เพื่อระบายอากาศในบริเวณที่มีสารระเหยที่ไวไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือไอน้ำมันเชื้อเพลิง
3.7. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

4.เตารีดไฟฟ้า

4.1. ควรระวังไม่ให้ความร้อนจากเตารีดสัมผัสสายไฟฟ้าเพราะจะทำให้เปลือกสาย (ฉนวน) เสียหายได้
4.2. สายปลั๊กของเตารีด เปลือกสาย (ฉนวน) ต้องไม่เสื่อมสภาพหรือฉีกขาด
4.3. ต้องคอยหมั่นตรวจสอบฉนวนยางที่หุ้มสายเข้าเตารีดหากพบว่าเปื่อยหรือฉีกขาด ควรรีบเปลี่ยนใหม่โดยช่างผู้มีความรู้เพราะหากไม่รีบเปลี่ยนสายไฟบริเวณนั้น อาจชำรุดและถูกไฟดูดได้
4.4. ขณะใช้งาน เมื่อหยุดรีดต้องวางบนวัสดุที่ไม่ติดไฟง่าย
4.5. เตารีดที่ใช้ควรมีสายดินและต่อลงดินผ่านทางเต้าเสียบ-เต้ารับที่มีสายดินด้วยและหมั่นตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟเสมอ
4.6. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น